ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Education Program in General Science
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม(ไทย) : ศึกษาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ทั่วไป)
ชื่อย่อ(ไทย) : ศษ.บ. (วิทยาศาสตร์ทั่วไป)
ชื่อเต็ม(อังกฤษ) : Bachelor of Education (General Science)
ชื่อย่อ(อังกฤษ) : B.Ed. (General Science)
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
ครูสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไปในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทั้งของรัฐและเอกชน
นักวิชาการศึกษาทั้งในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
นักวิจัยหรือผู้ช่วยนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์
บุคลากรทางการศึกษา
นักพัฒนาชุมชนทางการศึกษา
ผู้จัดการอบรมและสัมมนาในองค์กรสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา
อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ปรัชญาของหลักสูตร
สร้างครูวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและจิตวิญญาณความเป็นครูตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ และมีคุณลักษณะบัณฑิตอันพึงประสงค์ สอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัย คือ รู้คิด รู้ธรรม รู้สำเร็จ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณสมบัติดังนี้
1.มีมาตรฐานความรู้วิชาชีพครู ฐานสมรรถนะ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่
(1.1) ความรู้ในเนื้อหา ความรอบรู้ในศาสตร์ความเป็นครู เนื้อหาวิชาที่สอน การบูรณาการเนื้อหากับวิธีสอน ผู้เรียน และบริบทที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา มีความรอบรู้ ใฝ่รู้ในศาสตร์วิทยาศาสตร์ทั่วไป กว้างขวาง ลึกซึ้งและเป็นระบบ มีทักษะการจัดการเรียนรู้อย่างหลากหลายและเชี่ยวชาญ โดยใช้หลักการวิเคราะห์ สังเคราะห์ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ และนวัตกรรมได้อย่างเหมาะสม
(1.2) การจัดการเรียนรู้ ความสามารถในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นระบบ เพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพของตนเอง มีทักษะในศตวรรษที่ 21 มีแรงบันดาลใจ และมีพลังในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจนมีทักษะและประสบการณ์ในการสอนแบบบูรณาการ โดยสามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์และศิลป์ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและพัฒนาการของผู้เรียน
(1.3) คุณลักษณะความเป็นครู คุณลักษณะการแสดงออกที่สะท้อนถึงการเป็นผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครู เป็นแบบอย่างที่ดี และมีภาวะผู้นำ มีคุณธรรมจริยธรรม ยึดมั่นจรรยาบรรณวิชาชีพ มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างกัลยาณมิตร และมีบุคลิกภาพเป็นแบบอย่างที่ดีเหมาะสมกับความเป็นครูวิชาชีพ
(1.4) ความสัมพันธ์กับชุมชน ความสามารถในการสร้างชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา ชุมชน และผู้ปกครองของผู้เรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์